10 สิ่ง ในอวกาศที่สามารถทำลายอารยธรรมของเรา ข้อมูล ณ วันที่ 09/21/2560
อันดับที่ 10 ดาวเคราะห์ (Asteroid)
ทุกวันมีฝุ่นและก้อนหินตกลงมายังโลกแต่โชคดีที่มันถูกเผาทำลายในชั้นบรรยากาศ เมื่อ 66 ล้านปี ก่อน มีดาวเคราะห์น้อยขนาด 10 กิโลเมตร ชนเข้ากับพื้นผิวโลก ทำให้เกิดหลุมอุกกาบาตขนาดใหญ่ที่สร้างหายนะให้กับสภาพภูมิอากาศของโลก นาซ่าเชื่อว่าอุกกาบาตที่ใหญ่เกินกว่า 2 กิโลเมตร อาจส่งผลร้ายต่ออารยธรรมมนุษย์ ดาวเคราะห์น้อยที่น่าจับตามอง คือ 4179 ทูทาทิส ขนาด 5.4 กม. แม้ว่าโอกาสที่จะชนโลกมีน้อย วงโคจรที่ไม่มีแบบแผนที่แน่นอนของมันก็สามารถรบกวนเส้นทางการบิน มันจะเผชิญหน้าอย่างใกล้ชิดกับโลกของเราในปี พ.ศ. 2069
อันดับที่ 9 การระเบิดของรังสีแกมมา (Gamma-Ray Burst)
การระเบิดของรังสีแกมมา มีประสิทธิภาพมาก เราไม่ทราบต้นกำเนิดที่แท้จริงของมัน แต่คาดว่าเกิดจากการชนของดาวนิวตรอนหรือหลุมดำการปลดปล่อยรังสีแกมมาอาจมีพลังมากจนทำให้เกิดการปลดปล่อย แสงได้ครึ่งหนึ่งของจักรวาล ซึ่งสามารถมองเห็นได้บนโลก นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการระเบิดรังสีแกมมาจะเกิดขึ้น ทุกๆ 5 ล้านปี ซึ่งอาจจะเป็นจุดสิ้นสุดของชั้นบรรยากาศและสิ่งมีชีวิตบนโลก
อันดับที่ 8 พายุสุริยะ (Solar Storm)
พายุสุริยะ ปะทุออกจากผิวดวงอาทิตย์ มันมักไม่มีผลต่อโลก แต่บางครั้งมันก็ปล่อยพลังงานแม่เหล็กเพียงพอที่จะเดินทางมายังโลก เป็นเหตุให้เกิดเหตุการณ์แปลกๆ เช่น ไฟกระชากและไฟฟ้าดับ ดังที่เกิดขึ้นในปี 1859 มันเดินทางไปตามสายไฟสร้างความเสียหายที่มีขนาดเล็ก แต่นักฟิสิกส์เชื่อว่าพายุที่มีระดับความรุนแรงเดียวกันนี้จะมีผลกระทบอย่างมากกับโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยในปัจจุบัน บางทีอาจถึงขั้นที่ทั่วทั้งทวีป ตกอยู่ในความมืด
อันดับที่ 7 การชนกันของกาแล็คซี่ (Colliding Galaxies)
ในอีก 4,000 ล้านปี กาแล็กซีแอนโดรเมดาจะชนกับทางช้างเผือกของเราและทิ้งร่องรอยของก๊าซและฝุ่นดาวไว้ ดาวบางดวงจะถูกทำลายหายไป บางดวงจะหลุดออกไปจากกาแล็คซี่ของเรา ผลที่ตามมาคือกาแล็คซี่ทั้งสองจะถูกดึงเข้าด้วยกันที่ศูนย์กลางซึ่งเป็นหลุมดำมวลมหาศาล และเกิดกาแล็คซี่ใหม่ทั้งหมด
อันดับที่ 6 การสลับขั้วของสนามแม่เหล็ก (Shifting Magnetic Fields)
สนามแม่เหล็ก ปกป้องโลกจากรังสีและอันตรายภายนอกโลก ซึ่งเมื่อถึงช่วงเวลาหนึ่ง จะมีการกลับขั้วของสนามแม่เหล็ก ในทุก ๆ 250,000 - 300,000 ปี โดยเฉลี่ยอย่างช้าๆ โดยต้องใช้เวลาถึง 10,000 ปี แต่ระหว่างช่วงเวลานี้ก็จะส่งผลกระทบต่อพื้นผิวโลกและสิ่งมีชีวิตบนโลกไม่น้อย โดยครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 780,000 ปีก่อน และในครั้งนั้นก็มีความรุนแรงมากถึงขนาดทำให้สัตว์หลายชนิดบนโลกสูญพันธุ์มาแล้ว ปัจจุบันสนามแม่เหล็กโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เปลือกโลกมีการเคลื่อนตัว สภาพอากาศบนโลกเปลี่ยนไปในทางตรงข้าม โลกร้อน อุกกาบาตและวัตถุจากอวกาศจะถูกดึงเข้ามายังโลกได้ง่ายขึ้น สัตว์หลายชนิดสูญเสียประสาทสัมผัสในการกำหนดทิศทาง ภูมิคุ้มกันในร่างกายของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกจะอ่อนแอลง สิ่งมีชีวิตที่เหลืออยู่อาจเป็นสัตว์จำพวกกุ้ง หอย ปู ปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำที่อยู่ลึกลงไปหลายกิโลเมตรในทะเล หากรอดชีวิตก็ต้องพบเจอกับโลกที่เปลี่ยนแปลงไปในทางตรงกันข้าม ทั้งสภาพอากาศ กระแสลม กระแสน้ำ และโลกอาจหมุนกลับไปในทิศตรงกันข้าม ทำให้เห็นพระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันตก ซึ่งต้องใช้เวลาปรับตัวกันนานโขเลยทีเดียว
อันดับที่ 5 มนุษย์ต่างดาวบุกโลก (Alien Invasion)
จักรวาลของเราอาจมีถึง 200 พันล้านกาแล็คซี จึงเป็นไปได้ว่าอาจจะมีสิ่งมีชีวิตที่ชาญฉลาดอยู่ร่วมจักรวาลกับเรา นักวิทยาศาสตร์หลายคนกล่าวว่ามีสิ่งมีชีวิตอยู่นอกโลกจริง ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเราพยายามติดต่อกับพวกเขา แต่เป็นเรื่องอันตรายเนื่องจากเราไม่รู้เลยว่าอารยธรรมของพวกเขาก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพมากแค่ไหน
อันดับที่ 4 การขยายของดวงอาทิตย์ (Solar Expansion)
ดวงอาทิตย์ ผลิตทั้งแสงและความร้อนให้โลกของเรา เมื่อไฮโดรเจนซึ่งเป็นเชื้อเพลิงของดวงอาทิตย์หมดลง วาระสุดท้ายของดวงอาทิตย์ก็มาถึงโดยจะเปลี่ยนไปเป็นดาวยักษ์แดงภายใน 4-5 พันล้านปี ผิวนอกของดวงอาทิตย์จะขยายตัวออกไป ส่วนแกนกลางจะยุบตัวลง ส่งผลให้น้ำทะเลถูกความร้อนจากดวงอาทิตย์เผาผลาญจนระเหยสิ้นไปในอวกาศ และบรรยากาศหายไปจนไม่เอื้อแก่สิ่งมีชีวิตอีกต่อไป
อันดับที่ 3 การไม่มีดวงจันทร์ (Losing The Moon)
ดวงจันทร์ ลอยออกจากโลกในอัตรา 3.8 เซนติเมตร (1.5 นิ้ว) ทุกปี แม้ว่ามันจะเป็นไปได้ยากที่มันจะหลุดจากวงโคจรโลก แต่การสูญเสียดวงจันทร์จะทำให้โลกหมุนรอบตัวเองเร็วขึ้น โดยจะเหลือเพียง 10 ชั่วโมง โลกจะเอียงอีก 60 องศา ทำให้ภูมิอากาศแปรปรวนมาก สิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์หลายชนิด
อันดับที่ 2 ดาวตก (Shooting Stars)
ดาวตก ขนาดใหญ่ที่มีพลังนิวเคลียร์จำนวนมหาศาลสามารถเผาผลาญทุกสิ่งทุกอย่างที่ขวางทางของพวกมันและทำลายความสมดุลของดาวเคราะห์ที่มันเคลื่อนผ่าน
อันดับที่ 1 การขาดไฮโดรเจน (Bye Bye Hydrogen)
ดาวฤกษ์ ส่วนใหญ่ในจักรวาลจะลุกลามอย่างช้าๆ โดยใช้เชื้อเพลิงและในที่สุดจะสลายไปเป็นคาร์บอน ดาวฤกษ์ใหญ่จะกลายเป็นซุปเปอร์โนวา ดาวนิวตรอนหรือหลุมดำ เมื่อก๊าซไฮโดรเจนหมดไปจะไม่มีเชื้อเพลิงในการสร้างดาวฤกษ์ใหม่ ทำให้จักรวาลจะถูกทิ้งไว้ในความมืดทั้งหมด อุณหภูมิหนาวเย็น -273 องศาเซลเซียส (-459 ° F) หรือศูนย์สัมบูรณ์ ภายใต้เงื่อนไขเหล่านี้ไม่มีสิ่งมีชีวิตใดจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น