10 ทฤษฎีที่ว่าทำไมเราถึงฝัน
การนอนหลับแบ่งเป็น 2 ระยะ เกิดขึ้นสลับกันไป
1. การนอนหลับในระยะ non-REM : หรือช่วงที่กำลังหลับตื้น ร่างกายที่ขยับได้บ้าง ฝันในระยะนี้(ซึ่งไม่ค่อยฝัน)เมื่อตื่นมาแล้วจะจำไม่ได้
2. การนอนหลับในระยะ REM : หรือช่วงหลับลึก สมองจะตื่นตัวและทำงานได้ดีในระยะที่หลับ ฝันมักเกิดในระยะนี้ ตื่นมามักจะจำได้
เรามาดูทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความฝันกันดีกว่า
#10 ฝันเป็นการรวมความทรงจำ
การนอนหลับช่วยให้สมองของเราสามารถถ่ายโอนความทรงจำในระหว่างวันที่เก็บใน ฮิปโปแคมปัส ไปยังส่วนต่าง ๆ ของสมองเพื่อให้สามารถบันทึกและเรียกคืนได้ซึ่งเป็นหน่วยความจำระยะยาว
#9 ฝันเป็นการบำบัดรักษา
ฝันช่วยจัดการกับอารมณ์รุนแรง เช่น ตกใจ ความเศร้า ความรัก ความกลัว โดยจะแยกอารมณ์ความรู้สึกออกจากเหตุการณ์
#8 ฝันป้องกันความวิตกกังวล
การนอนหลับในระยะ REM ช่วยให้คนที่มีภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวลสามารถจัดการกับอารมณ์เช่น ความเศร้าและความโกรธได้
#7 ฝันนำมาซึ่งความเป็นอยู่ที่ดี
เมื่อไม่ได้ฝันเราจะเกิดความตึงเครียดเพิ่มขึ้น ขาดสมาธิ การประสานงานของสมองไม่ดี น้ำหนักขึ้นน้อย ยังมีแนวโน้มที่จะเห็นภาพหลอน สิ่งเหล่านี้เกิดจากการขาดการนอนหลับในระยะ REM ซึ่งเราจะฝันเพียงในระยะ REM
#6 ไม่ฝันอาจเป็นสัญญาณผิดปกติทางจิตเวช
ปัญหาการนอนหลับอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติทางจิตเวช การถูกขัดจังหวะการนอนหลับในระยะREM มีผลต่อระดับสารสื่อประสาทและฮอร์โมนความเครียด ทำให้เสียการควบคุมอารมณ์และมีผลต่อการคิด ความไม่สมดุลของฮอร์โมนและสารสื่อประสาทอาจนำไปสู่ความผิดปกติทางจิตเวช
#5 ทฤษฎีการประมวลผลข้อมูล
ในขณะที่นอนหลับ REM เราประมวลผลแนวคิดใหม่และเชื่อมโยงกับความรู้ที่มีอยู่หรือที่เกี่ยวข้อง
#4 ทฤษฎีจิตวิเคราะห์และความฝัน
ความฝันของเราแสดงถึงความรู้สึกที่ไม่สามารถยอมรับได้ ความฝันเป็นสัญลักษณ์แห่งความปรารถนา ความวิตกทุกข์ร้อนและความกลัวซึ่งถูกเก็บกดไว้ในจิตไร้สำนึกความฝันแสดงออกในขณะที่เรายังหลับอยู่ไม่ได้สติ
#3 ทฤษฎีการกระตุ้น-การสังเคราะห์
ความฝันเกิดขึ้นจากการตอบสนองทางชีวภาพต่อการกระตุ้นบางส่วนของระบบลิมบิค เมื่อส่วนนี้ทำงานในขณะที่เรานอนหลับสมองของเราจะสังเคราะห์และตีความข้อมูลนี้ในรูปของความฝัน ดังนั้นความฝันเป็นเพียงผลของการทำงานทางชีวภาพขั้นพื้นฐาน อย่างไรก็ตามการตีความสัญญาณชีวภาพนี้ก็นำไปสู่ความคิดใหม่ ๆ
#2 ทฤษฎีการปรับตัว
นักวิจัยพบว่าเมื่อไม่สามารถเข้าถึงระยะ REM เราจะใช้เวลาหลับในระยะ REM มากขึ้นกว่าปกติในคืนถัดมา เรียกว่าการฟื้นตัวของ REM การตอบสนองทางชีวภาพดังกล่าวสามารถบ่งชี้ว่า REM มีความสำคัญ สิ่งมีชีวิตที่ไม่มีการตอบสนองดังกล่าวจะถูกกำจัดออกไปอย่างช้าๆโดยการวิวัฒนาการ การคัดเลือกตามธรรมชาติได้ตั้งโปรแกรมให้เรานอนหลับและฝันเพื่อปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมและหลีกเลี่ยงอันตราย
#1 ทฤษฎีการกระตุ้นการคุกคาม
ฝันช่วยให้ได้ฝึกฝนกลไกความรู้ความเข้าใจที่จำเป็นสำหรับการหลีกเลี่ยงภัยคุกคามที่เหมาะสม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น